แนวคิดพื้นฐานของ ดรุณสิกขาลัย
ห้องเรียนวิทยาศาสตร์
โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการ วมว.) เป็นโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยในปีแรกมีมหาวิทยาลัยและโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 4 คู่กระจายอยู่ตาม ภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ในปัจจุบันเป็นโครงการในระยะที่ 2 ที่เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 โครงการ วมว. ดรุณสิกขาลัย ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ สถาบันการเรียนรู้ โครงการนี้อาศัยความร่วมมือจากคณะและหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยที่ช่วยสนับสนุนทั้งทางด้านบุคลากรและอุปกรณ์สถานที่ในการเรียนการสอนโครงการ วมว. ยึดแนวคิดเดียวกันกับโรงเรียนดรุณสิกขาลัยในการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ
หลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอนในโครงการฯ ตั้งอยู่บนแนวคิดแบบ Story Based Learning หรือร้อยเรียงเรื่องราวเพื่อการเรียนรู้ที่ริเริ่มโดยบุคลากรของสถาบันการเรียนรู้
สถานที่ในการเรียนการสอนโครงการ วมว. ยึดแนวคิดเดียวกันกับโรงเรียนดรุณสิกขาลัยในการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ
หลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอนในโครงการฯ ตั้งอยู่บนแนวคิดแบบ Story Based Learning หรือร้อยเรียงเรื่องราวเพื่อการเรียนรู้ที่ริเริ่มโดยบุคลากรของสถาบันการเรียนรู้และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างนักคิดนักประดิษฐ์ที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม การพัฒนาหลักสูตรอยู่บนสมมติฐานที่ว่า “สังคมวัฒนธรรมผลักดันพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม” ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงเน้นการบูรณาการระหว่างศาสตร์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษหรือสังคมศึกษา เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าใจ เชื่อมโยง และประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้เรียนรู้มาในการแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งในเชิงวิชาการหรือในชีวิตประจำวัน
โครงการ วมว. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้วธนบุรี มีเป้าหมายหลักในการพัฒนานักเรียนโดยการ ประยุกต์ทฤษฎี Constructionism เข้ากับหลักสูตรแกนกลางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐานในการจัด การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเรียนรู้ตลอดชีวิต (อันเป็นหนึ่งในหลายวิธีของกระบวนการพัฒนาและ ปฏิรูปการศึกษาของชาติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542) เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกคนสามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของตนเป็นคนไทยยุคใหม่ที่มีทักษะความสามารถด้านการเรียนรู้ (Learning Skills) มีทักษะการคิด (Thinking Skills) สามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นสามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษควบคู่กันได้เป็นอย่างดี (Thai-English Fluency) มีคุณธรรมจริยธรรม ตระหนักในความเป็นไทยมีความคล่องแคล่วทางเทคโนโลยี (Technology Fluency) เข้าได้ดีกับวัฒนธรรมที่เป็นสากลและสามารถพึ่งพาตนเองในสังคมยุคใหม่ที่เป็นสังคมฐานความรู้ได้อย่างมีความสุข
หลักสูตรห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย
หลักสูตรห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนดรุณสิกขาลัยได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2551 หลักสูตรปี 2551 นี้เป็นหลักสูตรแรกในการบูรณาการแบบองค์รวมในระดับหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ของ หลักสูตรแบบเรียงร้อยเรื่องราว (Story Based Learning) ต่อมาในปี 2552 ได้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยใช้ความรู้และ ประสบการณ์จากการถอดบทเรียนจากการการดำเนินการเรียนการสอนในปี 2551 มาเป็นหลักสูตรห้องเรียน วิทยาศาสตร์โรงเรียนดรุณสิกขาลัยปีพุทธศักราช 2552 และหลักสูตรปี 2552 นี้ได้ถูกใช้เรื่อยมาสำหรับนักเรียนใน โครงการฯ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ต่ออายุโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระยะที่ 2 ต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี (ปีการศึกษา 2556- 2565) เพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับนักเรียนและพลวัตการเปลี่ยนแปลง แบบโลกาภิวัตน์ ทางโครงการฯ จึงได้ใช้โอกาสนี้ในการปรับปรุงหลักสูตรใหม่โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญดังนี้